Language : English
ในปัจจุบัน ภาคการก่อสร้างเผชิญความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่ต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพในการก่อสร้าง กว่า 1 ใ น 3 ของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากภาคการก่อสร้าง โดยสาเหตุหลักมาจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นหลักในการผลิตวัสดุก่อสร้างสำหรับระบายความร้อน ระบบแสงสว่าง ระบบน้ำร้อน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งการบรรเทาและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านการก่อสร้างนอกจากจะสร้างโอกาสในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยังยืนแล้วยังสร้างโอกาสการทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการก่อสร้างมาจากการใช้ไฟฟ้า (8.6 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ GtCO2) และฮาโลคาร์บอน (รวมถึงคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ CFCs และไฮโดรคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน หรือ HCFCs ในสารทำความเย็นประมาณ 1.5 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ในปีพ.ศ. 2547 IPCC ประเมินว่าภาคการก่อสร้างปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 3 กิกะตันต่อปี
ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างเสนอการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบประหยัดต้นทุนในทุกภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งมีตั้งแต่ 0-2 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในประเทศกำลังพัฒนา โดยใช้มาตรการการออกแบบภายในอาคารแบบบูรณาการ การปรับปรุงซ่อมแซมอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้อาคารที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์และอาคารที่ไม่ใช้พลังงาน

กระบวนการบูรณาการเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของโลกด้านการก่อสร้าง ประกอบด้วย 3 ดานหลักคือ
- ด้านฮาร์ดแวร์ ได้แก่ กลยุทธ์การออกแบบ เทคโนโลยีและการปฏิบัติ
- ด้านซอฟ์ทแวร์ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติ ประสบการณ์และความรู้
- ด้าน Orgware ได้แก่ ความเป็นไปได้สำหรับการดำเนินงานและการแพร่หลายของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงนโยบายการสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการฝึกอบรมซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งหมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของผู้ใช้งานโดยผ่านการศึกษาและโปรแกรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้
กระบวนการบูรณาการเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของโลกด้านการก่อสร้างดังกล่าวมีส่วนช่วยในการปรับปรุงสามารถกำหนดความชัดเจนในการดำเนินงานและบรรเทาผลกระทบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการก่อสร้างเพื่อที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีความต้องการเข้าถึงในด้านเทคโนโลยี
รายละเอียดของกรอบการทำงานเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของโลกด้านการก่อสร้างสามารถแบ่งได้ 8 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- การออกแบบโดยใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์
- การออกแบบโดยใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ขั้นสูง
- การออกแบบเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์
- การใช้ระบบอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อปรับสภาวะภายในอาคารให้มีความสะดวกสบาย
- คาร์บอนต่ำและการกักเก็บคาร์บอน
- การผลิตพลังงานทดแทนสำหรับใช้งานในสถานที่นั้นๆ
- การติดตามตรวจสอบความผลตอบรับจากผู้ใช้งาน
- บริเวณโดยรอบอาคาร
เทคโนโลยีและข้อปฏิบัติในการบรรเทาผลกระทบทั้ง 8 ด้านนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและพื้นฐานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถในการนำไปใช้กับอาคารที่สร้างใหม่หรืออาคารที่มีอยู่แล้ว เป็นข้อสังเกตว่าประเภทการบรรเทาผลกระทบฯ ควรถูกประเมินตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นการก่อสร้าง ซึ่งแนวทางการออกแบบที่ดีสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสามารถออกแบบให้อาคารสามารถกระจายความร้อนจากอาคารสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยไม่ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลใดๆ ดังนั้น มาตรการออกแบบเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้ปัจจัยธรรมชาติและป้องกันความร้อนเข้าสู่กรอบอาคารถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารใหม่ ดังแสดงในตารางที่ 1 การจำแนกเทคโนโลยีและข้อปฏิบัติสำหรับการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตารางที่ 1 การจำแนกเทคโนโลยีและข้อปฏิบัติสำหรับการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ลำดับ | การจำแนกประเภทการบรรเทาผลกระทบฯ | เทคโนโลยีและแนวทางการปฏิบัติ |
สิ่งที่จำเป็นต้องมี | การใช้ปัจจัยธรรมชาติและป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร | การเลือกสถานที่ |
การออกแบบที่ตอบสนองกับแสงอาทิตย์ | ||
การออกแบบที่ตอบสนองกับทิศทางลม | ||
การใช้วัสดุป้องกันความร้อน | ||
1 | การใช้ปัจจัยธรรมชาติและป้องกันความร้อนเข้าสู่กรอบอาคารขั้นนสูง | การปรับปรุงเทคนิคดั้งเดิมและการใช้นวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง |
เทคโนโลยีการออกแบบบ้านที่ใช้ปัจจัยธรรมชาติและป้องกันความร้อนเข้าสู่กรอบอาคาร | ||
2 | เทคโนโลยีการออกแบบเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ | กระบวนการออกแบบวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ |
ฉนวนกันความร้อนของอาคาร | ||
ระบบอาคารด้านหน้าที่มีประสิทธิภาพสูง | ||
เทคโนโลยีการออกแบบตามฤดูกาล | ||
3 | การใช้ระบบอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อปรับสภาวะภายในอาคารให้มีความสะดวกสบาย | อุปกรณ์ให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง, มีระบบระบายอากาศและปรับอากาศ |
ระบบแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพ | ||
เทคโนโลยีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ | ||
4 | คาร์บอนต่ำและการกักเก็บคาร์บอน | วัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ที่คาร์บอนต่ำและกักเก็บคาร์บอน |
อาคารประหยัดพลังงานและระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | ||
5 | การผลิตพลังงานทดแทนสำหรับใช้งานในสถานที่นั้นๆ | เทคโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ |
การก่อสร้างแบบบูรณาการกับกังหันลม | ||
6 | การติดตามตรวจสอบความผลตอบรับจากผู้ใช้งาน | การจัดการพลังงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน |
การเร่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ||
7 | บริเวณโดยรอบอาคาร | การให้บริการด้านพลังงานกับชุมชน |
การปฏิบัติและการออกแบบชุมชนให้มีความยั่งยืน |
ที่มา: TNA Guidebook Series, Technologies for Climate Chang Mitigation, -Building Sector-, UNEP, 2012
แหล่งข้อมูล:
- IPCC. 2007c. Residential and commercial1 buildings. https://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/wg3/ar4-wg3-chapter6.pdf
- IPCC. 2008. Climate change mitigation in the buildings sector: the findings of the 4th Assessment Report of the IPCC. https://www.ipcc.ch/pdf/presentations/poznan-COP-14/diane-urge-vorsatz.pdf