Language : English

คอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้มีส่วนประกอบเป็นแบคทีเรียที่ผลิตหินปูนโดยอาศัยอาหารที่ผสมในคอนกรีต อากาศและน้ำที่จะมาเป็นองค์ประกอบของการสร้างหินปูนเมื่อโครงสร้างคอนกรีตแตก หินปูนที่ผลิตจากแบคทีเรียในคอนกรีตจะซ่อมแซมรอยแตกร้าวด้วยตัวเองได้

เฮนดริก จองเกอร์ (Hendrik Jonkers) นักจุลชีววิทยาที่เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมของแบคทีเรีย ซึ่งเขาได้หาทางพัฒนาความแข็งแรงของคอนกรีตโดยใช้หลักการเดียวกับการสร้างมวลกระดูกของเซลล์กระดูกในร่างกายมนุษย์ วิธีการที่เขาคิดค้นคือการประยุกต์ใช้แบคทีเรียที่ผลิตหินปูนเพื่อใช้ในการอุกรอยรั่วหรือรอยแตกของคอนกรีต แบคทีเรียชนิดนี้มีต้นกำเนิดและอาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีความเป็นด่างสูงใกล้บริเวณภูเขาไฟและมีความเหมาะสมกับงานและสามารถอยู่ในสภาพจำศีลมากถึง 200 ปี มันจะเริ่มทำการซ่อมแซมคอนกรีตเมื่อเกิดรอยแตกและได้รับน้ำ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือการประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการซ่อมแซมสะพาน อุโมงค์หรือกำแพง ซึ่งใช้คอนกรีตเป็นองค์ประกอบ โดยคอนกรีตถือว่าจัดอยู่ในหมวดหมู่ของวัสดุก่อสร้างซึ่งกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้างมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณร้อยละ 7-12 ต่อปี
แหล่งข้อมูล: