Language : English
นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation: REDD) คือ นโยบายภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC (link)) ว่าด้วยการส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า รวมไปถึงการเก็บสะสมคาร์บอนในป่าและการจัดการป่าอย่างยั่งยืน โดยการสร้างแรงจูงใจทางบวกด้วยการมอบผลตอบแทนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาจากมาตรการ REDD
เรดด์พลัส (REDD+) คืออะไร?
แนวความคิดเกี่ยวกับนโยบาย REDD+ ได้ถูกนำเข้าที่ประชุม COP14 และมีการประกาศอย่างเป็นทางการใน COP15 ในปี 2009 โดยความแตกต่างระหว่าง REDD และ REDD+ คือ
- การให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันทั้งในเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า และการเก็บสะสมคาร์บอนโดยการจัดการทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืน
- ในการประมาณค่าการปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวควรพิจารณาในเชิงผลกระทบที่เกิดจากพื้นที่แทนที่จะเป็นผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรม เพราะจะมีความแม่นยำในการหาผลกระทบที่แท้จริง
- พิจารณาสิทธิมนุษยชนของชาวพื้นเมืองและมุมมองด้านการปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
- มีการกล่าวถึงกลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการกระจายความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนอย่างเท่าเทียม
นอกจากนี้ยังมีการหารือในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะรวมมาตรการ REDD+ ให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับชาติ (NAMA)
การประยุกต์ใช้นโยบายเรดด์พลัส (REDD+) ในประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการเข้าร่วมนโยบาย REDD+ จะต้องดำเนินกิจกกรมการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าโดยคำนึงถึงความสามารถและสถานการณ์ของประเทศนั้นๆ โดยมีกระบวนการดำเนินงานอยู่ 3 ระยะ คือ
- จัดทำแผนปฏิบัติการ กลยุทธ์ นโยบาย และ/หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ REDD โดยจะต้องดำเนินงานตามเป้าหมายหรือแผนกิจกกรมที่ระบุไว้ในแผนและนโยบายแห่งชาติหรือเส้นฐานอ้างอิงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของป่า (Reference emission level หรือ Forest reference level)
- ดำเนินการตามกลยุทธ์หรือแผนปฏิบัติการสำหรับกิจกรรม REDD โดยสามารถแบ่งขอบเขตของกิจกรรมออกเป็น 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเสื่อมโทรมของป่า การเก็บรักษาปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในป่า การจัดการป่าอย่างยั่งยืน และการปรับปรุงการเก็บรักษาปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในป่า ตัวอย่างสำหรับตัวชี้วัดสำหรับแต่ละขอบเขตกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
กิจกรรม REDD | ตัวชี้วัด |
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า |
|
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเสื่อมโทรมของป่า |
|
การเก็บรักษาปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในป่า |
|
การจัดการป่าอย่างยั่งยืน |
|
การปรับปรุงการเก็บรักษาปริมาณคาร์บอนที่เก็บสะสมในป่า |
|
3 .การติดตาม ตรวจวัด และรายงานผลการปฏิบัติการ ประเทศสมาชิกที่ได้ปฏิบัติตามแผนกิจกรรม REDD จะต้องทำการตรวจติดตามและจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน
- การตรวจติดตาม สามารถทำได้โดยการผสมผสานเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) กับการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก (การศึกษาแหล่งที่มาการเกิดก๊าซเรือนกระจกในป่าและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในป่า) แหล่งเก็บสะสมก๊าซเรือนกระจกในป่า และการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ป่า
- การรายงาน รายงานจะต้องถูกจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงความโปร่งใส ความสอดคล้องกันของข้อมูล ความถูกต้องของรายงาน และความสามารถในการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูล
แหล่งที่มา:
- Baldauf, T., Plugge, D., & Köhl, M. (2009) Reduced Emissions from Deforestation and Forest Degradation (REDD): A Climate Change Mitigation Strategy on a Critical Track. Retrieved from: http://download.springer.com/static/pdf/410/art%253A10.1186%252F1750-0680-4-10.pdf?originUrl=http%3A%2F%2Flink.springer.com%2Farticle%2F10.1186%2F1750-0680-4-10&token2=exp=1470899559~acl=%2Fstatic%2Fpdf%2F410%2Fart%25253A10.1186%25252F1750-0680-4-10.pdf%3ForiginUrl%3Dhttp%253A%252F%252Flink.springer.com%252Farticle%252F10.1186%252F1750-0680-4-10*~hmac=fdf7261b4eb5dcfb4eb1fbdfd848b33f0bfa101c95cff91729ed0d4221c61bc3
- Román-Cuesta, R.M. Frequently asked questions on REDD+. Retrieved from: http://www.reddccadgiz.org/documentos/doc_554772732.pdf
- Holloway, V., & Giandomenico, E. (2009). The history of REDD policy. Carbon Planet White paper, Adelaide, Australia. Retrieved from http://redd.unfccc.int/uploads/2_164_redd_20091216_carbon_planet_the_history_of_redd_carbon_planet.pdf
- REDD04: https://www.iucn.org/sites/dev/files/import/downloads/iucn_position_paper_scope_redd_09_09.pdf