การซื้ออาหารพื้นเมืองและอาหารตามฤดูกาล
ประโยชน์ของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพโดยการซื้ออาหารพื้นเมืองตามฤดูกาลและอาหารปลอดสารเคมี ได้แก่ คุ้มค่า อาหารตามฤดูกาลทำจากพืชที่ผ่านการเพาะปลูกในฤดูกาลที่เหมาะสม ทำให้พืชเหล่านั้นเจริญงอกงาม ใช้เวลาปลูกน้อยกว่า จึงทำให้อาหารมีราคาถูกกว่า และบ่อยครั้งที่เราจะได้อาหารตามฤดูกาลในปริมาณมาก เนื่องจากพืชผักที่ใช้มีปริมาณมากและร้านอาหารจำเป็นต้องใช้ให้หมด อร่อยกว่า อาหารตามฤดูกาลมีรสชาติดีกว่าอาหารนอกฤดูกาลมาก เนื่องจากพืชที่ปลูกตามฤดูกาลจะสามารถเจริญเติบโตเต็มที่ตามธรรมชาติได้ก่อนที่จะถูกเก็บไปทำอาหาร จึงทำให้มีรถชาติอร่อย ยกตัวอย่างเช่น มะเขือเทศที่ปลูกในเดือนกุมภาพันธ์กับมะเขือเทศที่ปลูกในเดือนสิงหาคมมีรสชาติหวานอร่อยต่างกัน มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า พืชที่ปลูกตามฤดูกาลในสภาพที่เหมาะสมจะให้สารอาหารตามธรรมชาติมากกว่า จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่าพืชบางชนิดมีสารอาหารเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อปลูกตามฤดูกาล นอกจากนี้ผักผลไม้ตามฤดูกาลยังไม่ต้องผ่านการขนส่งเป็นเวลานานๆ จึงไม่เสียสารอาหารที่จำเป็น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า อาหารตามฤดูกาลและอาหารพื้นเมืองไม่ต้องใช้การขนส่งไกลๆ เหมือนผักผลไม้ที่ไม่มีในท้องถิ่นซึ่งบางครั้งต้องขนส่งเป็นระยะทางกว่า 2000 กิโลเมตรเพื่อนำมาขายในท้องถิ่น และยังใช้สารเคมีเพื่อคงความสดใหม่น้อยกว่า การรับประทานผักผลไม้ตามฤดูกาลจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการขนส่งและลดการใช้สารเคมีในการเกษตรได้อย่างมาก ผักผลไม้ตามฤดูกาลของไทยตั้งแต่เดือน มกราคม - ธันวาคม มกราคม ผลไม้ ส้มเกลี้ยง ฝรั่ง มะขามป้อม ละมุด อ้อย องุ่นสับปะรด มะตูม ชมพู่กระจับ ลูกตาลอ่อนกล้วยหอม ส้มจุก แตงโม ส้มเขียวหวาน (เพชรบูรณ์) ชมพู่มะเหมี่ยว พุทรา ผัก มะระ คะน้า สะเดา กะหล่ำดอก ขั้นฉ่าย ดอกหอม ถั่วลันเตา ถั่วแขก บวบ กวางตุ้ง กุมภาพันธ์ ผลไม้ มะขามเทศ…