การใช้มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบริบทโลก ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการก่อตั้งองค์กร หน่วยงาน และมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน ในปีพ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environmental Programme: UNEP) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำเชิงวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาวะโลกร้อนแก่ผู้กำหนดนโยบายจากประเทศต่างๆ ในปี 2533 IPCC ได้เผยแพร่รายงานการประเมินเรื่อง “มลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก” ส่งผลเกิดเป็นการประชุมสภาพภูมิอากาศระดับโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2531 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly) ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการเจรจาระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) เป็นคนกลางในการหารือกันระหว่างรัฐบาลของแต่ละประเทศเพื่อทำข้อตกลงในการให้คำมั่นสัญญา การตั้งเป้าหมายและแผนในการลดมลพิษ กลไกทางการเงิน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และขอบเขตความรับผิดชอบของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ในปีพ.ศ. 2535 UNFCCC ได้เปิดให้แต่ละประเทศมีการลงชื่อในการประชุมระดับโลกที่เมืองริโอ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการเกิดภาวะเรือนกระจก ในปีพ.ศ. 2540 พิธีสารเกียวโตได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ จากการตกลงในการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกครั้งที่ 3 หลังจากนั้นกลไกพัฒนาที่สะอาด (Clean Development…